On-page SEO คืออะไร แนะนำ 10 เช็คลิสต์ วิธีปรับ On-page ให้ไปอยู่หน้า SERP

On-page SEO

On-page SEO คือ การปรับแต่งเว็บไซต์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ 1 ใน 2 ส่วนหลักในการทำ SEO ( อีกส่วนคือการทำ Off-Page SEO) โดยมีเป้าหมายคือการทำให้เว็บไซต์หรือเว็บเพจของเรา สวย มีประโยชน์ และใช้งานง่าย ต้องตาต้องใจคนที่เข้ามาดูเว็บของเรา รวมถึงอัลกอริทึ่มของ google จนหยิบเว็บของเราไปติดอันดับบนหน้า SERP ของ google ซึ่งการปรับแต่ง on-page (บางคนอาจเรียกว่า on-site) มีหลายสิ่งหลายอย่างให้ต้องทำมากมายนับไม่ถ้วน แล้วคนทำ SEO ต้องทำอะไรบ้างล่ะ? วันนี้เราเอา 10 เช็คลิสต์ วิธีปรับ On-page ให้ปัง ๆ มาแนะนำให้ลองเอาไปเรียนรู้กัน

On-page SEO คืออะไร

ก่อนจะไปว่ากันถึง วิธีการปรับแต่ง On-pageมาทบทวนกันสักนิดดีกว่า On-page SEO คือ การปรับแต่งองค์ประกอบภายในเว็บของตัวเอง เริ่มตั้งแต่ โครงสร้างเว็บ เนื้อหา การทำลิงก์เชื่อมโยง รูปภาพ/วิดีโอ และ อื่น ๆ โดยมีเป้าหมายให้ตอบโจทย์การใช้งานของ ผู้ใช้งาน และถูกต้องตามหลัก อัลกอริทึ่มของ google ซึ่งมีหลักในการพิจารณาคร่าว ๆ ประมาณนี้

  • เนื้อหาอ่านง่าย มีประโยชน์
  • เว็บเข้าใจง่าย สามารถตอบได้ทันทีว่าเป็นเว็บเกี่ยวกับอะไร
  • แต่ละเว็บเพจในเว็บไซต์เชื่อมโยงกันอย่างเหมาะสม
  • และอื่น ๆ

เข้าใจการทำงานของ Search Engine

เราต้องทำความเข้าใจกับ ขั้นตอนการทำงานของ Search Engine ด้วยเช่นกัน เพราะการปรับแต่ง On-page SEO จะต้องสัมพันธ์กับขั้นตอนการทำงานของ Search Engine เสมอ โดยกระบวนการทำงานของ Search Engine ในการจัดอันดับเว็บไซต์ จะมี 3 ขั้นตอนหลัก ๆ คือ

  • Crawling : เป็นกระบวนการที่สำคัญในการเก็บข้อมูล ของ search engine โดย Crawling bot จะเข้ามาเก็บโค้ดและ Tag ต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลมาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของตน
  • Indexing : เป็นกระบวนการทำดัชนี หรือการนำข้อมูลเว็บไซต์ ที่ได้จาก Crawling bot เข้าสู่ฐานข้อมูลของ search engine โดยเมื่อไรก็ตามที่ผู้ใช้งานนำ keyword ไปเสิร์ชในช่องค้นหาของ search engine ตัว search engine จะเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลนี้ มาแสดงผลให้ผู้ใช้งานนั่นเอง
  • Ranking : เป็นการจัดอันดับเพื่อนำเสนอ โดยหลังจากที่ Bot สแกนเนื้อหามาเก็บไว้ในฐานข้อมูลแล้ว เมื่อมีคนเสิร์ชเกี่ยวกับเรื่องหนึ่ง ๆ ขึ้นมา Bot ก็จะวิ่งไปที่ฐานข้อมูล จากนั้นก็ทำการประเมินดูว่า เนื้อหาจากหน้าเพจใดของเว็บไซต์ไหนที่น่าจะตอบโจทย์คนที่ค้นหาข้อมูลเข้ามามากที่สุด แล้วเอามาแสดงผล

How Search Engine Work

และนี่คือเหตุผลของการปรับแต่ง on-page พูดง่าย ๆ คือ เราปรับแต่งเว็บไซต์ของเรา เพื่อต้องการให้ search engine ประเมินว่าเว็บเราดี มีคุณภาพ ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน จะได้หยิบเอาเว็บของเราไปแสดงผลให้ผู้ค้นหานั่นเอง

10 เช็คลิสต์ วิธีปรับ On-page SEO ตามปัจจัยที่อากู๋บอกว่าดี

การที่ Search Engine (google) จัดอันดับการแสดงผลของเว็บไซต์ว่า จะเอาเว็บไหนไปโชว์ก่อน Google มี Ranking Factors หรือปัจจัยในการพิจารณาการจัดอันดับของเขาครับ โดย Google มี Guidelines สำหรับผู้เริ่มต้น แนะนำเอาไว้ครับ ( Google SEO Guidelines ) รวมถึงคำแนะนำที่ปล่อยออกมาเรื่อย ๆ ตามการอัปเดทอัลกอริทึ่มในแต่ละครั้ง ซึ่งจากวันนั้นถึงวันนี้เยอะมาก สำหรับคนทำ SEO ที่ติดตาม สังเกตุ พัฒนาการของ google ตลอดมา สามารถสรุปปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ และ ควรทำก่อนในการปรับแต่ง On-page SEO เป็น 12 เช็คลิสต์ ดังต่อไปนี้

สร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพตามหลัก E-E-A-T

เนื้อหาที่มีคุณภาพ ให้ประโยชน์ แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ผู้อ่านต้องการ Google ก็เช่นกันครับ และ ให้คุณค่ากับกับมันมากด้วย จนออกเป็น Guideline ว่าด้วยเรื่องเนื้อหาที่ Google ชอบมาเลย นั่นก็คือ หลักเกณฑ์ E-E-A-T นี้เองครับ ( แต่ก่อนเป็น E-A-T ในภายหลังเพิ่ม E มาอีกตัวเป็น E-E-A-T ) เป็นปัจจัย 4 ข้อ ที่บอกว่านี่แหละเนื้อหาดี ถูกใจอั๊วะเลย ดังนี้

  • Expertise (ความเชี่ยวชาญ) หมายถึง ความรู้ความสามารถของผู้เขียนหรือผู้สร้างเนื้อหา ว่ามีความรู้ความเข้าใจในหัวข้อนั้น ๆ เป็นอย่างดี สามารถนำเสนอข้อมูลได้อย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ
  • Experience (ประสบการณ์) หมายถึง ประสบการณ์ตรงของผู้เขียนหรือผู้สร้างเนื้อหา ว่าเคยทำหรือผ่านประสบการณ์ในหัวข้อนั้น ๆ มาบ้าง ซึ่งจะช่วยให้สามารถนำเสนอข้อมูลได้อย่างเข้าใจและตรงจุด
  • Authoritativeness (ความมีอิทธิพล) หมายถึง ชื่อเสียงหรือความน่าเชื่อถือของผู้เขียนหรือผู้สร้างเนื้อหา ว่าได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในหัวข้อนั้น ๆ
  • Trustworthiness (ความน่าเชื่อถือ) หมายถึง ความไว้วางใจของผู้อ่านต่อผู้เขียนหรือผู้สร้างเนื้อหา ว่าสามารถนำเสนอข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเป็นประโยชน์

E-E-A-T คืออะไร

โดยวิธีปรับปรุงปัจจัย E-E-A-T สามารถทำได้ดังนี้

  • Expertise: แสดงความรู้ความสามารถของผู้เขียนหรือผู้สร้างเนื้อหา ผ่านการแสดงข้อมูลส่วนตัว เช่น ประวัติการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน หรือผลงานที่ผ่านมา
  • Experience: แสดงประสบการณ์ตรงของผู้เขียนหรือผู้สร้างเนื้อหา ผ่านตัวอย่างหรือกรณีศึกษา
  • Authoritativeness: สร้างความสัมพันธ์กับผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในหัวข้อนั้น ๆ เช่น อ้างอิงข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมในวงการ
  • Trustworthiness: นำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน

จริง ๆ เรื่องของหลักเกณฑ์ E-E-A-T นี้ ค่อนข้างที่จะมีเนื้อหาที่เยอะเลย ในเนื้อหาข้างต้นเป็นคำแนะนำเบื้องต้นนะครับ ไว้จะมาทำเป็นบทความแยกให้ต่างหากอีกทีแล้วกัน

เลือกใช้ Keyword ให้เหมาะสม (1 เว็บเพจ 1 คำหลัก)

การเลือกใช้ คำหลัก หรือ Keyword เพื่อสร้างเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์เป็นเรื่องสำคัญในการสร้างคอนเทนต์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการควบคุมเนื้อหาให้มีความชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย ผมแนะนำให้สร้างเนื้อหาแบบ “1 เนื้อหา โฟกัส 1 คำหลัก และ มีหัวข้อย่อย ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครับถ้วน” จะดีที่สุดครับ

ยกตัวอย่างการทำเนื้อหาเรื่อง “วิธีใช้งาน Photoshop”

คำหลัก

  • วิธีใช้งาน Photoshop

หัวข้อย่อย

  • วิธีใช้ photoshop เบื้องต้น
  • วิธีใช้ photoshop ขั้นสูง
  • เทคนิคการใช้ photoshop
  • วิธีใช้ photoshop บนมือถือ
  • วิธีใช้ photoshop บน iPad
  • วิธีใช้ photoshop บน Mac
  • วิธีใช้ photoshop บน iPad
  • วิธีใช้ photoshop บน Mac

การนำเสนอโดยมีหัวข้อหลักและรวบรวมหัวข้อย่อยที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดครบถ้วนในหน้าเว็บไซต์ จะส่งผลให้ผู้อ่านใช้เวลาในการเข้าชมหน้าเว็บไซต์นานขึ้น ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณบอกให้ Search Engine ทราบว่าเนื้อหาของเรานี้มีคุณภาพและสามารถดึงดูดผู้อ่านได้ ก็จะได้คะแนนมากขึ้นครับ

(วิธีหาคีย์เวิร์ดปังๆ มาใช้อ่านที่นี่ >> วิธีหา Keyword)

เขียนคอนเทนต์ด้วยเทคนิค SEO ที่มีความไหลลื่น

กระบวนการที่ search engine ส่งบอทเข้ามาอ่านเนื้อหาของเราและเก็บข้อมูล บอทมันไม่ได้เห็นเนื้อหาแบบคนเห็นนะครับ แต่จะอ่านเป็นภาษา HTML ดังนั้น เวลาเราเขียนคอนเทนต์ เราต้องเขียนให้เหมาะสมและเอื้อกับการทำงานของระบบ search engine อีกทั้งยังต้องให้คนอ่านไม่รู้สึกตะขิดตะขวงหรือรู้สึกแปลกด้วย ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้เทคนิคการเขียนสำหรับการทำ On-page SEO ยกตัวอย่างเช่น

  • การวางตำแหน่ง Keyword ต้องกระจายตัวอย่างเป็นธรรมชาติ สอดแทรกกับเนื้อหาอย่างแนบเนียน และวางอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่หนาแน่จนเกินไป
  • ต้องใส่ Heading Tag (H1 H2-H10) ให้กับหัวข้อย่อยต่าง ๆ ในเนื้อหา เพื่อให้บอทเข้าใจโครงสร้างของเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และคนอ่านสามารถเข้าใจและเลือกอ่านแต่ละหัวข้อได้สะดวก
  • แบ่งย่อหน้าให้ไม่ยาวหรือสั้นจนเกินไป แนะนำที่ประมาณไม่เกิน 5 บรรทัด เพื่อให้เหมาะกับการอ่านในอุปกรณ์ดิจิทัล เช่น สมาร์ทโฟน หรือ แท็ปเล็ต
  • ให้ใช้เครื่องหมาย Bullet, Number และตัวอักษร italic, bold ช่วยในการย่อยเนื้อหาให้อ่านง่ายและเข้าใจได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความสวยงามและความเป็นระเบียบของเนื้อหาด้วย
  • ใช้ Quote หรือ วลี แทรกระหว่างย่อหน้า (ใช้อย่างพอเหมาะ) เพื่อดึงความสนใจผู้อ่านหรือเพื่อให้ผู้อ่านได้พักสายตา
  • กำหนดความยาวของเนื้อหาอย่างเหมาะสม ไม่สั้นจนเกินไป แนะนำว่าอย่างน้อยสัก 500-1000 คำ สำหรับเนื้อหาภาษาไทย (ข้อนี้จริง ๆ มีคนทำ SEO ได้พิสูจน์แล้วว่า ความยาวของเนื้อหา ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการจัดอันดับของ Google แต่.. ส่วนตัวผมคิดว่าสัก 500-1000 คำ เป็นความยาวที่กำลังเหมาะแล้ว)

ใช้ media (ภาพ/คลิป) ประกอบคอนเทนต์ให้สมบูรณ์

ถ้าเนื้อหามีแต่ข้อความแล้ว คงจะเป็นอะไรที่ไม่น่าสนใจเอามาก ๆ ว่ามั้ย ? ดังนั้นบนหน้าเว็บเพจควรมีสื่อประเภทอื่นๆ เช่น ภาพ Infographic, วิดีโอ, ภาพเคลื่อนไหวหรือ Gif หรือสื่อ Interactive เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับเนื้อหา ทำให้เนื้อหามีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นด้วย

อีกทั้งการใช้สื่อที่มีความหลากหลายมาประกอบเนื้อหา นอกจากเพิ่มความสวยงาม และความน่าสนใจแล้ว ยังเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะดึงดูดให้ผู้อ่านอยู่ในหน้าเว็บเพจของเรานานขึ้นด้วย เป็นการเพิ่ม Time on page ซึ่งเป็นหนึ่งใน User Signal ที่ Google ใช้ประเมินว่า คนชอบหน้าเพจนี้หรือไม่

การกำหนด Title Tag , Meta Description และ Slug

การกำหนด Title Tag , Meta Description และ Slug ซึ่งจะเป็นส่วนที่โชว์อยู่บนหน้า SERP เมื่อ Google หยิบเว็บของเราไปแสดงผล เป็นการบ่งบอกทั้งคนและบอทว่า เว็บเพจของเราหน้านั้น ๆ มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับอะไร เดี๋ยวผมขออธิบายแยกเป็นแต่ละส่วนนะ

On-page SEO

  • Title Tag (ชื่อของหน้า): เป็นข้อมูลส่วนแรกที่ Bot เข้ามาอ่าน เป็นส่วนที่บอกถึงหัวข้อของหน้านั้น ๆ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร ในส่วนนี้มีเทคนิคการเขียน คือ
    • เขียนให้น่าสนใจ ดึงดูดให้คนเข้ามาอ่าน (ให้นึกถึงการเขียนพาดหัวข่าว)
    • ต้องสั้นและกระชับ ไม่ควรยาวเกิน 60 ตัวอักษร (ถ้าเกินจะขึ้นโชว์ไม่ครบ)
    • ควรวาง Keyword ไว้หน้าสุดเสมอ
    • ควรมี Positive หรือ Negative Word คำที่แสดงอารมณ์ทั้งบวกหรือลบ เช่น เคล็ดลับ ห้ามพลาด หมดแล้วหมดเลย ด่วน เป็นต้น
    • การใส่ “ตัวเลข” จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจได้
  • Meta Description (คำอธิบายหน้า): เป็นส่วนที่จะแสดงผลต่อลงมาจาก Title Tag เป็นคำอธิบายเว็บเพจแบบสั้น ๆ เพื่อดูภาพรวมว่าเนื้อหาในหน้าเพจเกี่ยวกับอะไร ในส่วนนี้ควรเขียนอธิบายเนื้อหาเป็นตัวอย่างสั้น ๆ ให้คนเข้ามาดูรู้ว่า เข้ามาดูแล้วจะเจออะไร ควรเขียนชักจูงให้คนรู้สึกอยากคลิกเข้ามาอ่านต่อ และ สุดท้ายในส่วนของ Meta Description การแทรก Keyword ของเนื้อหาไว้ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการติดอันดับ มากขึ้นด้วย
  • Slug (ชื่อลิงก์): การตั้งชื่อ URLS เช่น “ www.nohows.com/(ชื่อลิงก์) “ ในส่วนนี้ควรตั้งชื่อลิงก์ให้มีความเป็น Friendly URLs คือ อ่านง่าย เข้าใจง่าย ไม่ยาวเกินไป และมีโครงสร้างที่เหมาะสม ( ภาษาไทยก็ได้ แต่แนะนำตั้งเป็นภาษาอังกฤษ)

ตัวอย่าง Slug ที่ดี

www.nohows.com/on-page-seo

อย่าปล่อยให้ชื่อลิงก์มีลักษณะที่อ่านไม่รู้เรื่องแบบนี้

www.nohows.com/1cODa5MdMUg0yRRpr2P_yk8dZwCmpkU8-H

การตั้งชื่อลิงก์ให้อ่านง่าย เข้าใจง่าย ก็เพื่อให้คนที่จะคลิกลิงก์เข้ามาอ่านเนื้อหาของเรา พอจะเดาได้ว่า เนื้อหาในลิงก์นี้ เป็นเนื้อหาแบบไหน และป้องกันการเข้าใจผิดว่าเป็นลิงก์สแปมหรือลิงก์ไวรัส

การปรับแต่งรูป Image Optimization เรื่องรูปก็ต้องเป๊ะ

Image Optimization

การปรับแต่งรูปภาพ (Image Optimization ) เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาของเว็บไซต์ของคุณ การใช้รูปภาพที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อคนที่เข้ามาชมเว็บไซต์ของคุณได้ แถมการปรับแต่งรูปภาพยังช่วยให้ Google Bot เข้าใจและระบุสิ่งที่อยู่ในภาพได้ง่ายขึ้น ทำให้เว็บไซต์ของคุณมีโอกาสในทำอันดับได้ดีขึ้นในระบบเสิร์ช Google อีกด้วย ดังนั้น ซึ่งผมมีแนวทางการปรับแต่งรูปภาพมาแนะนำให้คุณดังนี้

  • การตั้งชื่อรูปภาพ หรือการใส่ Alt text ในรูป เป็นสิ่งที่ควรทำเสมอ เพราะช่วยให้ google สามารถเข้าใจได้ว่ารูปนั้นคือรูปอะไร เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือไม่ โดยข้อความที่ใส่ควรมีการแทรก Keyword คำหลัก ของเนื้อหานั้น ๆ เข้าไปด้วย จะช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกจัดอันดับที่ดีขึ้นได้ด้วย
  • ใช้ format ของรูปภาพให้เหมาะสม โดยในปัจจุบันนี้ตาม google guidelines เขาแนะนำให้ใช้ภาพที่เป็นไฟล์นามสกุล webp หรือ Avif ครับ เพราะไฟล์ประเภทนี้ เป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัดให้เล็กลง แต่ยังสามารถรักษาคุณภาพของรูปได้ดีประมาณหนึ่ง รูปยิ่งมีขนาดเล็ก ยิ่งช่วยเรื่องของความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ ซึ่งเป็น Ranking Factors ชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อการจัดอันดับเว็บด้วยครับ
  • ควรตั้งชื่อไฟล์ เป็นภาษาที่อ่านได้ครับ จะให้ดีเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเลยยิ่งดีครับ เช่น ชื่อไฟล์ on-page-seo-1.webp อะไรแบบนี้ ดีกว่าชื่อไฟล์ที่เป็นภาษามั่วหรือตัวเลขอย่างเดียว เช่น webp เป็นต้น

ปรับปรุง Site Speed โหลดหน้าเว็บเร็วเป็นต่อเสมอ

Site Speed หรือ ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บเพจ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ส่งผลต่อคะแนนที่ Google ให้ เพื่อใช้ในการประเมินการจัดอันดับ Google มองว่า เว็บที่โหลดเร็ว ย่อมให้ประสบการณ์ที่ดีกว่าเว็บที่โหลดช้า เพราะฉะนั้นการปรับปรุง on-page นอกจากปรับปรุงในเรื่องของเนื้อหาแล้ว เรื่องของความเร็วในการโหลด ก็เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน โดยเทคนิคที่ช่วยให้เว็บไซต์ของเราเร็วขึ้นได้นั้น มีหลากหลายวิธี ดังนี้

  • เลือกใช้ Theme ที่มีองค์ประกอบไม่เยอะมาก การเลือกธีมสำคัญทีเดียว สำหรับการทำ SEO เพราะบางธีมมีองค์ประกอบเยอะ ๆ การดาวน์โหลดมาแสดงผลก็จะเยอะตามไปด้วย ซึ่งส่งผลให้เว็บช้า ใช้เวลาโหลดนานนั่นเอง
  • เลือก Hosting ที่มีคุณภาพ และ ตั้งอยู่ใกล้กับกลุ่มเป้าหมายที่ใช้งานเว็บไซต์ของเรา เช่น ถ้าเราทำเว็บเพื่อให้คนไทยเข้าชม ก็ควรจะเลือก Hosting ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เป็นต้น แต่ถ้าเว็บเราทำขึ้นเมื่อเพื่อกลุ่มเป้าหมายที่เป็น world wide อาจพิจารณาเรื่องการใช้ CDN เช่น Cloudflare มาช่วยก็ได้
  • การทำ Lazyload ให้รูปภาพค่อย ๆ แสดงทีละส่วย และ การบีบอัดรูปภาพในเว็บไซต์ให้เล็กลง โดยการเลือกใช้ไฟล์ขนาดเล็กเช่น Webp หรือ AVIF
  • ใช้ Plug-In เท่าที่จำเป็น Plug-In เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เว็บช้าเลย เพราะยิ่งเราใช้เยอะเท่าไร การโหลดก็จะช้าเท่านั้น เพราะงั้นใช้เท่าที่จำเป็น
  • มีการทำ cache เก็บใน browser เพื่อช่วยให้ไม่ต้องดาวน์โหลดหน้าเว็บไซต์ใหม่ทุกครั้งที่เข้าชม และจะช่วยประหยัดเวลาในการโหลดหน้าเว็บไซต์ด้วย

ทั้งนี้ทั้งนั้นเรื่องของ Site Speed มักจะสัมพันธ์กับเรื่องความสวยงาม ฟังชั่นการใช้งานของเว็บไซต์ ผมแนะนำให้ปรับแต่ง site speed เท่าที่พอจะทำได้ก็พอ ให้คำนึงถึง User Experience ก่อน บางทีเว็บต้องสวยก็ควรสวย ฟังชั่นที่ต้องมีก็ควรมี แม้จะทำให้โหลดช้าขึ้นบ้างก็ไม่เป็นไร

site speed

(Site Speed ตรวจสอบได้ที่นี่ : เช็กความเร็วเว็บไซต์ )

Responsive Design รองรับการใช้งานทุกแพลตฟอร์ม

โลกเปลี่ยน พฤติกรรมคนก็เปลี่ยน จากเมื่อก่อนคนใช้งาน google กันบนคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันนี้จากสถิติ การค้นหาบน Google ถูกใช้งานผ่านอุปกรณ์พกพาอย่าง สมาร์ทโฟน และ แท็ปเล็ต มากกว่าคอมพิวเตอร์ไปแล้ว Google ก็เข้าใจในสิ่งนี้เช่นกัน เว็บไซต์ที่แสดงผลได้ดีบนอุปกรณ์พกพา หรือ Mobile Friendly  จึงถูกให้ความสำคัญมากขึ้น ดังนั้นเมื่อเราออกแบบเว็บไซต์จึงต้องออกแบบให้ตอบโจทย์การใช้งานบนอุปกรณ์พกพาด้วย

(วิธีเช็คว่าเว็บของเราเหมาะกับอุปกรณ์พกพาไหม >> Mobile Friendly Test)

responsive design

คุณลักษณะของเว็บที่ออกแบบได้อย่าง Mobile Friendly

  • ตัวอักษรและไอคอนบนเว็บไซต์ ควรมีขนาดที่ใหญ่พอที่จะอ่านได้ง่ายบนหน้าจอขนาดเล็ก และควรจัดวางให้เหมาะสมกับขนาดหน้าจอ
  • เนื้อหาบนเว็บไซต์ ควรจัดวางอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านเนื้อหาได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยควรหลีกเลี่ยงการใช้ข้อความจำนวนมากหรือภาพขนาดใหญ่
  • ควรตอบสนองต่อการใช้งานที่รวดเร็ว เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างราบรื่น
  • ปุ่มควบคุมบนเว็บไซต์ ควรใช้งานได้ง่ายและสะดวก เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว
  • ควรทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญได้อย่างรวดเร็ว เช่น เมนูหลัก ข้อมูลติดต่อ ฯลฯ

เชื่อมเว็บเข้าด้วยกัน ทำ Internal link และ Outbound link

การเชื่อมโยงลิงก์ภายในและภายนอกเว็บ เป็นการให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้เข้าชมและเพิ่มความเข้าใจให้ Google Bot ต่อเว็บไซต์ของเรา โดยการเชื่อมโยงนั้นควรจะเชื่อมโยงเว็บเพจและเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเรา การทำลิงก์เชื่อมโยง มีผลต่อการให้คะแนนความน่าเชื่อถือของ Google และ เพิ่มโอกาสให้ผู้ชมอยู่ในเว็บเรานานขึ้นอีกด้วย

  • Internal link คือ การทำลิงก์เชื่อมโยงภายในเว็บไซต์ของตัวเอง ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน เป็นการช่วยให้ Google Bot ทำให้เข้าใจเนื้อหาของเราง่ายขึ้น แถมเป็นการเพิ่มค่าพลัง SEO ให้กับลิงก์ปลายทางที่เราทำลิงก์ไปอีกด้วย
  • Outbound link คือ การทำลิงก์เชื่อมโยงออกไปเว็บไซต์อื่น ๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้อง จะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า มันเป็นการทำลิงก์อ้างอิงเนื้อหา หรือ การให้เครดิตเว็บไซต์อื่นก็ได้ ซึ่งเมื่อเราอ้างอิงเว็บที่มีความน่าเชื่อถือสูง ก็จะส่งผลให้ Google มองเว็บเราว่ามีความน่าเชื่อถือไปด้วยเช่นกัน แถม Google Bot ยังสามารถทำความเข้าใจกับเนื้อหาของเว็บเราได้ง่ายขึ้น ผ่านการทำลิงก์ไปเว็บที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

Shareable ยุคแห่งการแชร์ ก็ต้องแชร์ง่าย

นอกจากเว็บโหลดเร็วแล้ว เนื้อหาปังแล้ว การเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ หรือ Traffic ก็เป็นอีกปัจจัยนึง ที่จะช่วยให้เว็บเราทำอันดับได้ง่ายและเร็วขึ้นได้ เพราะ ถ้าเว็บเรามีคนเข้ามาดูเยอะ ๆ มันเหมือนเป็นสัญญาณที่จะบอก Google ว่า เว็บของเราเป็นเว็บที่มีอิทธิพลและเป็นที่ชื่นชอบของคนนะ และถ้าเป็นแบบนี้ Google ก็จะจัดอันดับให้เว็บเราสูงขึ้นไปอีก ซึ่งเทคนิคง่าย ๆ ในการเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ คือ ทำให้เว็บของเรา แชร์ง่าย ด้วยปุ่มแชร์ต่าง ๆ แบบ 1 คลิก กดปุ๊บแชร์ปั๊บ นั่นเอง

Shareable

อ่านมาถึงตรงนี้คงไม่มีใครสงสัยกันแล้วเนอะว่า On-page SEO คืออะไร และควรจะปรับแต่ง On-page อย่างไรดี แค่คุณลองทำตาม 10 เช็คลิสต์พื้นฐานข้างต้น ที่ได้นำเสนอไป ผมเชื่อว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงกับเว็บไซต์ของคุณในทางที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขอฝากไว้นิดนึงนะ ไม่ว่าคุณจะปรับ On-page SEO เป๊ะแค่ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดเสมอยังหนีไม่พ้น การทำคอนเทนต์ที่มีคุณภาพและให้ประโยชน์กับผู้อ่านได้ “Content is King” ยังเป็นคำที่ถูกต้องและใช่เสมอนะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *