คอนเทนต์ประเภท YMYL คืออะไร เป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจ ไม่ใช่แค่สำหรับคนทำ SEO เท่านั้นที่ต้องรู้ คนทำคอนเทนต์และเว็บไซต์ ก็ควรที่จะต้องทำความเข้าใจเหมือนกัน เพราะ YMYL เป็น Core Algorithm (หลักเกณฑ์) ที่ Google ปล่อยออกมา โดยตั้งใจใช้เพื่อกำหนดและคัดกรอง คุณภาพ (Quality) ของเนื้อหาโดยเฉพาะ ดังนั้นถ้าคุณเป็นคนทำ SEO หรือ คนทำ Content เพื่อที่จะให้ตอบโจทย์หลักเกณฑ์นี้ของ Google เรามาทำความเข้าใจเรื่องนี้กันเถอะ
YMYL คืออะไร
YMYL ย่อมาจาก “Your Money or Your Life” เป็นอัลกอริทึ่ม ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2018 ทำหน้าที่ในการคัดกรองคุณภาพเนื้อหา โดยให้ความสำคัญกับเนื้อหาประเภทที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้คน (หากเป็นข้อมูลที่ปิด) เช่นเนื้อหาประเภท สุขภาพ การเงิน และความปลอดภัย เป็นต้น ดังนั้นเว็บไซต์ หรือ ธุรกิจไหน ที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอเนื้อหาประเภทเหล่านี้ จำเป็นต้องนำเสนอเนื้อหาที่ถูกต้อง ครบถ้วน และมีที่มาที่ไปชัดเจน ให้เข้าเกณฑ์ YMYL ตามที่ Google กำหนดให้ได้ ไม่งั้นเนื้อหาของคุณอาจจะเป็นเนื้อหาประเภทไร้คุณภาพในสายตาของ Google ทันที
(อ่าน Google Guideline << ที่นี่ )
ตัวอย่างเนื้อหาประเภท YMYL และ Keyword ที่เกี่ยวข้อง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องการสุขภาพต่าง ๆ และการแพทย์ เช่น การรักษาโรค การดูแลสุขภาพ การออกกำลังกาย
- ตัวอย่างคีย์เวิร์ด : มะเร็งเต้านม , อาการกรดไหลย้อน
เนื้อหาเกี่ยวกับการเงิน เช่น การลงทุน การออมเงิน การวางแผนภาษี การกู้เงิน การซื้อขาย
- ตัวอย่างคีย์เวิร์ด : สินเชื่อบ้าน , วิธีประหยัดภาษี , ประกันรถยนต์ , ลงทุนอะไรดี
เนื้อหาเกี่ยวกับความปลอดภัย เช่น คำแนะนำด้านความปลอดภัย ภัยคุกคามทางไซเบอร์
- ตัวอย่างคีย์เวิร์ด : วิธีป้องกันข้อมูลส่วนตัว , วิธีป้องกันข้อมูลทางการเงิน , แรนซัมแวร์
เนื้อหาเกี่ยวกับรัฐบาล เช่น นโยบายรัฐ กฎหมาย มาตรการควบคุม
- ตัวอย่างคีย์เวิร์ด : การเลือกตั้ง , ประมวลกฎหมายอาญา
เนื้อหาเกี่ยวกับการให้ข้อมูล เช่น เรื่องศาสนา วัฒนธรรม เพศ ความเท่าเทียม ความศรัทธา
- ตัวอย่างคีย์เวิร์ด : รสนิยมทางเพศ , พิธีกรรมศาสนา , ความสุขคืออะไร
เนื้อหาเกี่ยวกับข่าวสาร เช่น วิทยาศาสตร์ การเมืองการปกครอง เทคโนโลยี โรคระบาด
- ตัวอย่างคีย์เวิร์ด : บล็อกเชน ,สิทธิมนุษยชน,พลังงานนิวเคลียร์
(อ่าน วิธีหาคีย์เวิร์ด <<คลิก)
แล้วเราจะทำเนื้อหายังไงให้ผ่านเกณฑ์ YMYL
เทคนิคการทำคอนเทนต์หรือเว็บไซต์ให้ผ่านเกณฑ์ YMYL ผมแนะนำให้ยึดหลักประมาณนี้ คือ ทำยังไงก็ได้ให้ Google เชื่อว่าเราเป็นเว็บ ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในเรื่องนั้นจริง ๆ ตัวอย่างเช่น
- ถ้าเราเป็นเว็บที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการแพทย์ การรักษาโรค เราต้องทำให้ Google เชื่อว่าเว็บเราเป็นเว็บโรงพยาบาล ( เราต้องตีโจทย์ประมาณว่า เว็บโรงพยาบาล ควรจะมีข้อมูลอะไรบ้าง และนำเสนอแบบไหนบ้าง)
- ถ้าเราเป็นเว็บที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการเงิน การลงทุน เราต้องทำให้ Google เชื่อว่าเว็บเราเป็นสถาบันการเงิน ( เราต้องตีโจทย์ประมาณว่า เว็บสถาบันการเงิน ควรจะมีข้อมูลอะไรบ้าง และนำเสนอแบบไหนบ้าง)
(เนื้อหาประเภท YMYL จะสัมพันธ์กับหลักเกณฑ์ E-E-A-T Factors <<อ่านคลิก)
แนะนำ YMYL Checklist เบื้องต้น
- ปรับแต่ง SEO On-Page ให้ถูกต้องตามหลักการ SEO
- ความยาวของเนื้อหาขั้นต่ำควรจะเริ่มที่ 1000 คำ
- การใช้บริบทที่เกี่ยวข้องแสดงถึงความชำนาญในเนื้อหานั้น ๆ ขอยกตัวอย่าง เว็บทางการแพทย์
- ใช้คำเช่น ชื่อแพทย์ ตำแหน่งทางการแพทย์ คำว่า”หมอ” และอื่น ๆ
- ใช้ศัพท์เฉพาะทางการแพทย์แทรกในเนื้อหา
- ทำหน้าประวัติแพทย์แต่ละคน
- ชื่อและประวัติของคนเขียนบทความ ใช้และใส่ประวัติให้แมตช์กับเนื้อหาที่ทำ ถ้าเป็นบทความการแพทย์ก็เช่น นายแพทย์ (ชื่อ-นามสกุล) พร้อมประวัติย่อ ๆ เป็นต้น หรือถ้าไม่ทำที่ Profile ผู้เขียน ก็อาจจะเขียนทิ้งท้ายบทความ ประมาณว่า เขียนโดย นายแพทย์ (ชื่อ-นามสกุล) แบบนี้ก็ได้
- คนเขียนบทความ ควรใช้หลาย ๆ คน ไม่ควรเป็นชื่อของคน ๆ เดียว
- ทำ External Link ให้ศัพท์ทางเทคนิค หรือ ศัพท์เฉพาะทาง ไปเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือและเกี่ยวข้องกับคำนั้น ๆ จะเป็นเว็บไทย หรือ เว็บต่างประเทศก็ได้
- ใต้บทความควรมีอ้างอิง และ ถ้าสามารถทำ external link ไปแหล่งอ้างอิงนั้นได้ด้วยยิ่งดี
- สร้างบริบทต่าง ๆ ภายในเว็บให้คล้ายหรือเหมือนกับเราเป็นเว็บเฉพาะทางในด้านนั้นจริง ๆ เช่น เว็บโรงพยาบาล เว็บธนาคาร เป็นต้น
- จากข้อบน สามารถทำได้โดยการเข้าไปดูข้อมูลของเว็บใหญ่ ๆ ในด้านนั้น เช่น เว็บธนาคารกสิกร เขานำเสนอข้อมูลอะไรบ้าง เราก็ทำตามนั้น
- ข้อมูลผลิตภัณฑ์ต้องใส่ให้แน่น เช่น ถ้ามีใบรับรอง หรือ ได้รางวัล ได้ใบประกาศ จากไหนมาบ้าง ต้องใส่ให้ครบ หรือมีข้อมูลวิจัยอะไรที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ก็ต้องเขียนให้ละเอียด
- ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จริง (Fact) ต้องใส่ให้ตรงกับความเป็นจริง เช่น วันเดือนปีเกิด ข้อกฎหมาย ชนิดของอาหารหรือยา
- ไม่ควรคัดลองเนื้อหามาจากที่อื่นมากเกินไป (ทำได้แต่ห้ามเยอะ) เพราะถ้ามีเนื่อหาที่คัดลอกมาจากที่อื่นเยอะเกินไป จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์
- ควรมีบทความจำนวนมากพอสมควร อย่างน้อย 20 บทขึ้นไป
- หน้า Contact us ควรมีเสมอ และ ควรใส่ข้อมูลละเอียดครบถ้วนด้วย
กล่าวโดยสรุปแล้ว สำหรับคำตอบของคำถามที่ว่าคอนเทนต์ประเภท YMYL คืออะไร อธิบายให้เข้าใจกันแบบง่าย ๆ ก็คือ คอนเทนต์ประเภทที่อาจะส่งผลเสียหรือผลกระทบต่อผู้อ่านได้ ถ้าหากได้รับข้อมูลผิด ๆ ซึ่งส่วนมากจะเกี่ยวกับเรื่องของ สุขภาพ การเงินการลงทุน ความปลอดภัย และ อื่น ๆ ซึ่ง Google ให้ความสำคัญกับความถูกต้อง และ เชื่อถือได้ของข้อมูลเป็นอย่างมาก ถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่นำเสนอเนื้อหาลักษณะนี้ ต้องใสใจเรื่องความถูกต้อง และ ความเชื่อถือ แหล่งอ้างอิง เป็นสำคัญเลย ห้ามมั่วเด็ดขาด